ในขณะที่ไล่เช็คความเรียบร้อยของเว็บดูอยู่นั้น ก็เห็นว่าตัว site health มันแจ้งมาว่า imagick, is not installed, or has been disabled. ก็เลยลองไปไล่หาวิธีแก้ โชคดีที่ว่าตอนนี้ใช้โฮส VPS กับ DigitalOcean อยู่ แล้วเค้ามีบอร์ดถามตอบเรื่องนี้อยู่พอดี สรุปได้คำตอบมาว่า… sudo apt install php8.0-imagick sudo service apache2 restart รันคำสั่งปุ้บ หายปั้บ เรียบร้อยแจ่มแมว
ทำเว็บด้วย WordPress ฉบับสรุปสามชั่วโมง
ไม่นานมานี้ผมได้รับข้อความจากอาจารย์มหาลัยให้ไปเป็นแขกรับเชิญเข้าไปสอนคลาสเรียนคลาสนึง ไหนๆช่วงนี้ก็กำลังทุบเว็บทำใหม่พอดีก็เลยเอาเนื้อหานี้แหละไปสอน Part 1: WordPress คืออะไร WordPress คือชุดโปรแกรมสำหรับจัดการเนิ้อหา (CMS: Content Management System) ยอดนิยมอันดับต้นๆของโลก ซึ่งปกติแล้วตัว WordPress นั้นมักจะถูกนำมาใช้ทำเว็บไซต์ต่างๆหลากหลายประเภท ตั้งแต่เว็บบล็อกเขียนบทความ เว็บขายของเล็กๆ เว็บพอร์ตโฟลิโอ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมคนใช้เยอะล่ะ นำมาใช้ได้ฟรี เพราะ WordPress นั้นเป็นซอฟท์แวร์เปิด (Open source) ที่อนุญาติให้ทุกคนสามารถโหลดไปใช้ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลยจากเว็บทางการที่ wordpress.org มีสังคมผู้พัฒนาขนาดใหญ่ ต่อจากข้อข้างบน ด้วยความที่เป็นซอฟท์แวร์เปิด (Open source) ทำให้ผู้พัฒนาเว็บสามารถเข้าถึงโค้ดต้นฉบับได้ตลอด ทำให้การเขียนโปรแกรมต่อยอดขึ้นมานั้นง่ายมาก ใช้งานง่าย อีกจุดเด่นของ WordPress คือระบบการจัดการเนื้อหาที่ใช้งานง่าย หน้าตาคล้ายคลึงกับโปรแกรมเขียนเอกสารทั่วไป และยังเป็นระบบออนไลน์ ขอแค่มีเพียงคอมพิวเตอร์ที่มีเน็ต ก็สามารถเข้าไปเขียนหรือแก้ไขเนื้อหาได้ตลอดเวลา ดีไซน์หน้าเว็บหลากหลาย ในปัจจุบันนี้ตัว WordPress เองนั้นมีธีมเว็บให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายดีไซน์ ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน และยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้เองขึ้นกับความต้องการของแต่ละคน เอามาทำอะไรได้บ้าง แม้ว่าตอนแรกนั้นตัว WordPress ถูกออกแบบมาสำหรับการทำเว็บประเภทบทความหรือบล็อก แต่ในปัจจุบันนั้นก็มีคนเขียนต่อยอดเพิ่มความสามารถขึ้นมาให้สามารถทำระบบซื้อขายสินค้าออนไลน์ขนาดย่อมๆขึ้นมา ซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยากตั้งหน้าร้านออนไลน์เองโดยไม่ต้องพึ่งเว็บอื่น หรือแม้กระทั่งระบบเว็บบอร์ดถามตอบที่ให้หลายๆคนเข้ามาใช้งานได้ แต่ยังไงก็ตาม ตัว WordPress เองก็ยังเหมาะกับการทำเว็บประเภทบทความมากกว่าอยู่ดี ใครใช้บ้าง กลุ่มผู้ใช้ WordPress ส่วนใหญ่นั้นก็เป็นเว็บที่ให้เนื้อหาเป็นจำนวณมาก เช่นเว็บข่าว เว็บการเรียนการสอน เว็บแสดงผลงาน เว็บแสดงสินค้า เว็บบริษัท และเว็บบล็อกทั่วไป รวมถึงเว็บนี้ด้วย...
เมื่อโดเมนแหล่มๆที่ซื้อมามันไม่ได้แหล่มเสมอไป
เรื่องมีอยู่ว่า ผมอยากที่จะย้ายเว็บบล็อกนี้กลับไปใช้เป็น WordPress อีกรอบ แต่คราวนี้หันไปใช้โดเมนใหม่แทน เห็นว่าเจ้าตัวโดเมนห้อยท้ายที่เป็น .dev เนื่ยมันช่างดูดีซะเหลือเกิน ก็เลยไปซื้อมาลองเปิดเว็บดู ทีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าตัวเว็บเบราเซอร์สมัยใหม่เนี่ยเค้าจะบังคับให้ทุกโดเมนที่ห้อยท้าย .dev ต้องโหลดเว็บผ่าน HTTPS เท่านั้น ตอนแรกผมเองไม่เจอปัญหาอะไรหรอกจนกระทั่งได้มาลองใช้ตัวแก้เว็บของ WordPress เนี่ยแหละ อ้าว ทำไมโหลดหน้าตัวแก้เว็บไม่ขึ้น ด้วยทริกที่ตัวแก้เว็บใช้นั้นมันโหลดหน้าเว็บเราซ้อนเข้ามา ทำให้ตัวเบราเซอร์ ทั้ง Firefox และ Chrome ไม่ยอมโหลดตัวแก้เว็บ “ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย” ผมเลยแก้ปัญหาด้วยการ ซื้อโดเมนใหม่ เอาแบบไม่ต้องแหล่มละทีนี้ ถ้ามันจะสร้างปัญหาตอนนั่งทำเว็บเล่นๆ
ลองเล่น Firebase Local Emulator Suite
โลกแห่งสาย Web development นั้นมันวิ่งไวมาก อยู่ดีคืนดีก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆออกมาเยอะแยะ ทำให้เราต้องคอยหมั่นเช็คดูบ่อยๆทั้งสิ่งที่เราใช้อยู่แล้วและสิ่งใหม่ๆที่งอกขึ้นมา อย่างตัว Firebase เองนี่ ตั้งแต่ผมเรียนครั้งแรกในคลาสเมื่อปีก่อนผมยังพอจำหลักการทำงานได้บ้าง แต่เมื่อผมได้กลับมาหยิบใช้อีกครั้งในโปรเจกงานจริงจังอีกทีก็พบว่ามันเปลี่ยนไปเยอะมาก ทั้งกลุ่มบริการที่มีให้ใช้ รวมถึงวิธีการเขียนโค้ดที่เปลี่ยนตามยุคด้วย ผมกลับมาทำงานโดยใช้ Firebase Firestore มาเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ แต่ก่อนจำได้ว่ามีแค่ Realtime Database ตัวเดียว ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันเล็กน้อย แต่แล้วไม่นานผมก็พบกับปัญหาใหญ่ในการทำงานเข้า “โควต้าเต็ม” ตัว Firestore นั้นเค้ามีโควต้าการอ่านเขียนให้มาจำนวนหนึ่งต่อรอบบิล ด้วยความที่มันเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ตลอดเวลาบนคลาวด์ มันเลยทำให้เวลาผมทำงาน จะต้องต่อกับตัวฐานข้อมูลจริงๆไว้ตลอด นับวันทำไปก็จะกินโควต้าไปเรื่อยๆ จนมันแทบจะหมดไปกับการ develop on production จุดๆนี้ ความขี้สงสัยเริ่มครอบงำ ก็เลยไปค้นหาว่ามันมีวิธีไหนบ้างที่จะพอเซฟโควต้านี้ไว้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินตอนที่เราทำงาน ก็ได้พบกับบทความนี้จาก Firebase Thailand เรื่อง Firebase Local Emulator เป้ะเลย นี่แหละสิ่งที่ต้องการ โอเค ได้คำตอบละ จบ ต่อจากนี้ไปก็คือต้องลองเล่นแล้วเอามาประกอบกับ workflow งานตัวเองแล้วล่ะ Read more: Introduction to Firebase Local Emulator Suite
ลองเล่น GitHub.dev
จากกิจวัตรประจำวันที่ไถฟีดโซเชียลเล่นไปเรื่อยๆ จนเจอบทความนึงบนเว็บ dev.to เกี่ยวกับฟีเจอร์เจ๋งๆของ GitHub ก็เลยลองทำตามบทความนั้นดู ด้วยการกดปุ่ม . บนคีย์บอร์ดบนหน้า repo ใน GitHub เฮ้ย มันมีหน้าจอ VS Code ขึ้นมาพร้อมกับเปิดโค้ดหน้าเดิมให้เลย เทคโนโลยีสมัยนี้มันเจ๋งขนาดนี้เลยรึเนี่ย ก็เลยลองเอามาเขียนโน้ตอันนี้แบบออนไลน์ดู ไม่ต้องใช้คอมเครื่องเดิมก็แก้โค้ดได้ สุดยอดจริงๆ
แปลงฟอนต์ไว้ขึ้นเว็บแบบด่วนจี๋
อยากได้เว็บโหลดเร็วๆก็ต้องใช้มาตรฐานเว็บยุคใหม่ แต่ถ้าฟอนต์ที่ได้มาเค้าไม่แถมมาให้ล่ะ
minecraft server quick start
minecraft server quick start guide
สวนดิจิทัลและวงแหวนเว็บ
เมื่อการท่องเว็บแบบเล่นๆนำพามาสู่การจัดการความรู้แบบจริงจัง
เปิดบัญชีกองทุนรวมออนไลน์ ง่ายไปมั้ง?
สมัยนี้ธุรกรรมออนไลน์ทำง่ายมาก เพียงจิ้มแอพไม่กี่นาทีก็พร้อมลงทุนแล้ว
ซื้อเกมใน Steam ยังไงไม่ใช้เงินซักบาท (ใช้ Bitcoin สิ)
ซื้อเกมใน Steam โดยใช้ Bitcoin อย่างไรที่เรียบง่ายและไม่แพงกว่าการเติมเงินสด